Q&A มนุษย์ยังจำเป็นอยู่ไหม เมื่อAI “คิด” เองได้... ?

Last updated: 8 ก.ค. 2566  |  314 จำนวนผู้เข้าชม  | 

Q&A มนุษย์ยังจำเป็นอยู่ไหม เมื่อAI “คิด” เองได้...  ?

 

AI เทคโนโลยีสุดล้ำหรือภัยคุกคามกันแน่

ปัญญาประดิษฐ์ หรือเรียกสั้นๆ ว่า AI (Artificial Intelligence) เป็นแนวคิดในการพัฒนาด้านคอมพิวเตอร์ให้สามารถในการคิด ตัดสินใจและเรียนรู้ได้ด้วยตนเองที่ใกล้เคียงกับมนุษย์ ส่งผลให้เครื่องคอมพิวเตอร์มีความฉลาดมากขึ้น สามารถทำงานในระบบที่มีความซับซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่ต้องอาศัยแรงงานจากมนุษย์

 

ในการแบ่งระดับตามฉลาดและความสามารถของปัญญาประดิษฐ์ เราสามารถแบ่งได้ออกเป็น 3 ระดับ คือ

 

AI Caliber 1) Artificial Narrow Intelligence (ANI)

ในระดับแรกคือ Artificial Narrow Intelligence (ANI) หรือบางครั้งเรียกว่า “Weak AI” ซึ่งในระดับนี้ AI จะมีความสามารถและความเชี่ยวชาญในเฉพาะด้าน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ AlphaGo ที่สามารถเอาชนะเซียนโกะมือหนึ่งของโลก

 

AI Caliber 2) Artificial General Intelligence (AGI)

ในระดับที่สองนี้คือ Artificial General Intelligence (AGI) หรือบางครั้งเรียกว่า “Strong AI” หรือ “Human-Level AI” ในระดับนี้ AI จะมีความสามารถและความฉลาดเทียบเท่ามนุษย์ ทั้งความสามารถการคิดเชิงเหตุผล การวางแผนและแก้ปัญหา การคิดในเชิงซับซ้อน และสามารถเรียนรู้ได้จากประสบการณ์

 

การพัฒนา AI ให้มีความสามารถในระดับนี้ยากกว่าการพัฒนาในระดับ ANI เป็นอย่างมากและแน่นอนว่า AI ในตอนนี้ยังห่างไกลจากความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้หลายสาขาหรือทำงานได้เกือบทุกอย่างเฉกเช่นเดียวกับมนุษย์ ไม่ได้จำกัดอยู่ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพียงอย่างเดียว

 

AI Caliber 3) Artificial Superintelligence (ASI)

และในระดับสุดท้ายนี้ก็คือ Artificial Superintelligence (ASI) โดย Nick Bostrom นักปรัชญาและนักคิดชั้นนำด้าน AI ได้ให้นิยามของ “Superintelligence” ไว้ว่า “เครื่องจักรที่มีสติปัญหาและความสามารถเหนือกว่าสมองมนุษย์ที่ฉลาดที่สุดในเกือบทุกสาขา รวมถึงความคิดเชิงสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ ความรู้เชิงภูมิปัญญา และทักษะทางสังคม” เขาเรียกมันว่า “เครื่องจักรทรงภูมิปัญญา (Machine Superintelligence)”

 

ระบบปัญญาประดิษฐ์กำลังพัฒนาความฉลาดขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง ผลการวิจัยระบุว่า ภายในศตวรรษนี้ ระบบปัญญาประดิษฐ์จะมีความ “ฉลาด” เทียบเท่ามนุษย์ และ Nick Bostrom ได้กล่าวไว้ว่า เมื่อนั้น มันจะแซงหน้ามนุษยชาติไป “ความฉลาดของเครื่องจักร จะเป็นสิ่งประดิษฐ์สุดท้าย ที่มนุษยชาติจำเป็นต้องพัฒนาขึ้น”

 

เปิด 10 อาชีพ เสี่ยงตกงาน เหตุ "ChatGPT- AI" เข้ามาทดแทน!

1.งานสายการศึกษา ครูหรืองานเกี่ยวกับการสอน เพราะก่อนหน้านี้มีข่าวว่าโรงเรียนในนิวยอร์ก ได้แบนการใช้งานของ ChatGPT บนเครือข่ายและอุปกรณ์ต่าง ๆ หลังมีนักเรียนนำมาใช้ช่วยทำการบ้าน สะท้อนให้เห็นว่าระบบ AI เริ่มเข้ามามีอิทธิพลกับภาคการศึกษา

2.งานเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และข้อมูลต่าง ๆ เช่น โปรแกรมเมอร์, วิศวกรซอฟต์แวร์, นักวิเคราะห์ข้อมูล, นักพัฒนาเว็บไซต์

ถึงแม้ว่าในปัจจุบัน อาชีพเหล่านี้ยังคงเป็นที่ต้องการในหลายองค์กรก็ตาม แต่ในอนาคต เมื่อ AI พัฒนามากขึ้น ก็อาจเข้ามาทำงานแทนกลุ่มคนเหล่านี้ได้

ล่าสุด เกิดกระแสความฮือฮา เมื่อ ChatGPT สัมภาษณ์ผ่านฉลุย และจะถูกจ้างในตำแหน่ง “วิศวกรซอฟต์แวร์ ระดับ 3” ของ Google ได้งานค่าจ้างเดือนละกว่า 5 แสนบาท

3.งานด้านกฎหมาย โดยเฉพาะงานที่เกี่ยวกับการตรวจสอบข้อเท็จจริงของคดี รวบรวมและหาหลักฐานสนับสนุนในการว่าความ

4.งานสายการเงิน นักวิเคราะห์การเงิน, ที่ปรึกษาทางการเงิน เพราะบริษัทใหญ่ ๆ ในปัจจุบัน เริ่มใช้ระบบ AI ในการเก็บข้อมูลกันอย่างแพร่หลายแล้ว

อย่างไรก็ดี ถึงแม้ AI ที่กำลังพัฒนาจะเข้ามาทำงานในตำแหน่งที่ช่วยเตรียมข้อมูลต่าง ๆ ให้ แต่ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า อำนาจในการตัดสินใจทางการเงินและเศรษฐกิจที่สำคัญ ก็จะยังเป็นของมนุษย์อย่างแน่นอน

5. งานเกี่ยวพันกับการซื้อขายสินทรัพย์ในตลาดการเงิน เพื่อทำกำไรในระยะเวลาสั้น ๆ หรือนักเทรดหุ้นนี้ มีโอกาสที่จะโดน AI เข้ามาแทนที่ เพราะการทำงานที่มีระบบ และรูปแบบค่อนข้างตายตัว โดยอาศัยข้อมูลและการคาดการณ์เป็นหลัก ซึ่งเป็นสิ่งที่ AI เชี่ยวชาญอีกด้วย

6. งาน graphic design ,สถาปัตยกรรม หรือด้านอื่นๆ ของการออกแบบ โดยวงการนี้ก็สะเทือนตั้งแต่มีแอพพลิเคชัน ‘Canva’ ออกมาให้ใช้งานกันแล้ว

ยิ่งในตอนนี้มีการพัฒนา AI ที่วาดภาพได้หลากหลาย เพียงป้อนคำสั่งกำหนดเนื้อหาและสไตล์เข้าไป กลับถูกใจลูกค้าที่ชอบความง่ายและรวดเร็ว ส่งให้โอกาสสร้างรายได้ของอาชีพนี้ก็ยิ่งน้อยลง

7.งานสื่อมวลชนและโฆษณา โดยเฉพาะการสร้างคอนเทนต์ด้วยงานเขียน ซึ่งได้มีหลายองค์กรเริ่มมีการทดลองใช้ ChatGPT สร้างงานเขียนออกมา

8.งานการผลิตและเภสัชกรรม เมื่อกระบวนการผลิตสำหรับสินค้าโภคภัณฑ์ส่วนใหญ่ที่ผลิตในปัจจุบันได้รับการใช้เครื่องจักรแล้ว AI ก็สามารถจัดการด้านการปฏิบัติงานได้ดีเช่นกันไม่แพ้มนุษย์

แม้แต่ในห้องปฏิบัติการเภสัชกรรมหุ่นยนต์สามารถทำงานร่วมกับนักวิทยาศาสตร์ เพื่อสร้างการทดลองต่าง ๆ ที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น และมีโอกาสที่หุ่นยนต์จะสามารถทำแทนนักวิทยาศาสตร์ได้ทั้งหมดโดยไม่ต้องพึ่งพามนุษย์

9. เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย โดยหุ่นยนต์รักษาความปลอดภัย เริ่มมีให้เราเห็นขึ้นเยอะ สามารถตรวจสอบได้ละเอียดและแม่นยำ มีโอกาส 84% ที่ AI จะเข้ามาแทนที่ทั้งหมด

10.งานบริการลูกค้า ซึ่งในตอนนี้บริษัทส่วนใหญ่ก็ใช้เทคโนโลยี AI ทำงานแทนมนุษย์กัน เพราะมองว่าฝ่ายบริการลูกค้าที่ทำงานโดยมนุษย์ อาจมีอารมณ์หรือบุคลิกที่แตกต่างกันออกไป การตอบคำถามหรือพูดคุยอาจมีความผิดพลาดอยู่บ่อยครั้ง ทำให้ตำแหน่งนี้ได้ถูกแทนที่ไปบ้างแล้วด้วยแชทบอท ที่รองรับการหาข้อมูลจำนวนมากโดยไม่จำกัดอีกด้วย

อย่างไรก็ดี ไม่ใช่ทั้งหมดที่จะมาทดแทนการทำงานของมนุษย์ เพราะ ยังมีกิจกรรม อาชีพอีกมากมายที่ยังคงต้องใช้มนุษย์ในการสร้างสรรค์และควบคุมอยู่ เพียงแต่นำเทคโนโลยีมาใช้ประกอบร่วมให้สามารถทำได้ดี

แน่นอนว่าเมื่อเป็นแบบนี้แล้ว เราก็คงต้องปรับตัวตามกันให้ทันแล้ว เพราะดูเหมือนระบบ AI นี้ จะถูกพัฒนาให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : 

https://athivvat.medium.com

https://www.khaosod.co.th/

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้