Last updated: 12 เม.ย 2566 | 671 จำนวนผู้เข้าชม |
ในช่วงฤดูร้อน ประเทศไทยจะพบกับสภาพอากาศที่ร้อนจัด ซึ่งจะมีการใช้ไฟฟ้ามากขึ้น และเครื่องใช้ไฟฟ้าจะทำงานมากขึ้น โดยเฉพาะเครื่องปรับอากาศ เป็นเหตุให้ประชาชนเสียค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) ขอความร่วมมือประชาชนช่วยกันปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อช่วยให้ใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย โดยเริ่มจากหมั่นดูแล บำรุงรักษาเครื่องใช้ไฟฟ้าให้พร้อมใช้งานและปลอดภัยอยู่เสมอล้างเครื่องปรับอากาศให้ปลอดจากฝุ่นละออง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้ามีส่วนสำคัญที่ทำให้ประหยัดค่าไฟฟ้าตามมาตรการ ปิด-ปรับ-ปลด-เปลี่ยน
- ปิดไฟดวงที่ไม่ใช้
- ปรับลดอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศมาอยู่ที่ระดับ 26 องศาเซลเซียส
- ปลดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ใช้งาน
- เปลี่ยนไปใช้เครื่องปรับอากาศที่มีค่าประสิทธิภาพสูง (SEER) เปลี่ยนมาใช้
หลอดไฟ LED แทนการใช้หลอดแบบไส้และเลือกใช้อุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้า
นอกจากนี้ ควรใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างระมัดระวัง เพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร รวมทั้งปิดสวิตซ์และดึงปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าออกทุกครั้งเมื่อไม่ได้ใช้งาน หมั่นตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ ถ้าชำรุดต้องซ่อมแซมทันทีเพื่อป้องกันการเกิดไฟฟ้าลัดวงจรและติดตั้งสายดิน พร้อมเครื่องตัดไฟรั่วเพื่อป้องกันอันตรายจากกระแสไฟฟ้า
อย่างไรก็ตาม หากประชาชนท่านใดต้องการคำแนะนำเรื่องการดูแลรักษาเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือพบเห็นระบบจำหน่ายของ PEA ชำรุดเสียหายหรืออยู่ในสภาพไม่ปลอดภัยอย่าเข้าใกล้ ให้แจ้งการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคที่อยู่ในพื้นที่ของท่านหรือโทร 1129 PEA Call Center ตลอด 24 ชั่วโมง
จัดอันดับ 5 เครื่องใช้ไฟฟ้ากินไฟมากที่สุด
โดยทั่วไปแล้ว หน่วยวัดพลังงานไฟฟ้าจะใช้เป็นกิโลวัตต์ โดย 1 กิโลวัตต์/ชั่วโมง เท่ากับ 1,000 วัตต์ ซึ่งเป็นปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่เราใช้ทำกิจกรรมต่าง ๆ ต่อหนึ่งชั่วโมง โดยเครื่องใช้ไฟฟ้ากินไฟภายในบ้านที่เราใช้กันอยู่ทั่วไป มีดังนี้
1. เครื่องทำน้ำอุ่น ใช้ไฟ 2,500-12,000 วัตต์ ค่าไฟชั่วโมงละ 10-47 บาท
2. เครื่องปรับอากาศ ใช้ไฟ 1,200-3,300 วัตต์ ค่าไฟชั่วโมงละ 5-13 บาท
3. เครื่องซักผ้า ใช้ไฟ 3,000 วัตต์ ค่าไฟชั่วโมงละ 12 บาท
4. เตารีดไฟฟ้า ใช้ไฟ 750-2,000 วัตต์ ค่าไฟชั่วโมงละ 3-8 บาท
5. เครื่องดูดฝุ่น ใช้ไฟ 750-1,200 วัตต์ ค่าไฟชั่วโมงละ 3-5 บาท
6. เครื่องปิ้งขนมปัง ใช้ไฟ 800-1,000 วัตต์ ค่าไฟชั่วโมงละ 3-4 บาท
7. หม้อหุงข้าว ใช้ไฟ 450-1,500 วัตต์ ค่าไฟชั่วโมงละ 2-6 บาท
8. เตาไมโครเวฟ ใช้ไฟ 100-1,000 วัตต์ ค่าไฟชั่วโมงละ 0.40-4 บาท
9. เครื่องเป่าผม ใช้ไฟ 400-1,000 วัตต์ ค่าไฟชั่วโมงละ 2-4 บาท
10. โทรทัศน์ ใช้ไฟ 80-180 วัตต์ ค่าไฟชั่วโมงละ 30-70 สตางค์
11. ตู้เย็น 7-10 คิว ใช้ไฟ 70-145 วัตต์ ค่าไฟชั่วโมงละ 25-60 สตางค์
12. พัดลมตั้งพื้น ใช้ไฟ 20-75 วัตต์ ค่าไฟชั่วโมงละ 10-30 สตางค์
หมายเหตุ คิดจากค่าไฟฟ้าเฉลี่ย ประมาณ 3.9 บาท/หน่วย (ข้อมูลจากการไฟฟ้านครหลวง)
เลือกเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างให้ประหยัดไฟ
การเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ทำให้ได้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ทำงานมีประสิทธิภาพและประหยัดพลังงาน ซึ่งมีวิธีง่าย ๆ ดังนี้
1. เลือกขนาดพอดี
หากคุณต้องการเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กอื่น ๆ ควรเลือกขนาดที่เหมาะสมกับการใช้งาน การเลือกเครื่องปรับอากาศที่มียูนิตขนาดเล็กกว่าจะช่วยยืดอายุการใช้งานได้มากกว่าเครื่องปรับอากาศที่มีขนาดใหญ่
วิธีเลือกที่ง่ายที่สุดให้เลือกรุ่นเครื่องปรับอากาศให้เหมาะกับบ้าน โดยบ้านที่มีพื้นที่ 2,000-2,500 ตารางฟุต ควรเลือกติดตั้งเครื่องปรับอากาศแบบ 34,000 BTU/ชั่วโมง ส่วนบ้านที่มีขนาด 1,000-1,200 ตารางฟุต อาจเลือกติดตั้งเครื่องปรับอากาศ 21,000-24,000 BTU/ชั่วโมง
2. เลือกที่มีเครื่องหมายประหยัดไฟ
เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีตราหรือเครื่องหมายรับรองว่าประหยัดไฟ กินไฟน้อย หรือฉลากเบอร์ 5 ก็เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยกรองตอนที่เราเลือกซื้อเครื่องใข้ไฟฟ้า เพราะเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านั้นผ่านการตรวจสอบมาตรฐานเรื่องการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้งานประหยัดไฟได้มากขึ้น
3. เลือกเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีโหมดประหยัดพลังงาน
นอกจากพิจารณาเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีเครื่องหมายหรือฉลากประหยัดไฟแล้ว การเลือกเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีโหมดประหยัดพลังงานก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจไม่น้อย เพราะฟังก์ชันดังกล่าวมีส่วนช่วยในการประหยัดไฟน้อยกว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทเดียวกันที่ไม่มีฟังก์ชันประหยัดพลังงาน
4. ดูที่ดีไซน์
ใครที่มองหาตู้เย็นใหม่ ใช้งานได้ดี และกินไฟน้อย อาจเลือกตู้เย็นแบบที่เปิดประตูอันเดียว ซึ่งรวมช่องแช่ธรรมดาและระบบแช่แข็งไว้ด้วย เพราะตู้เย็นดีไซน์แบบนี้จะกินพลังงานน้อยกว่าแบบที่ช่องแช่แข็งและช่องแช่ธรรมดา
ขอขอบคุณข้อมูลจาก :
www.pea.co.th
www.ddproperty.com
18 ม.ค. 2568