ทำไมต้องน้ำผึ้งเดือน 5

Last updated: 29 เม.ย 2566  |  388 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ทำไมต้องน้ำผึ้งเดือน 5

 น้ำผึ้งเดือน 5 คืออะไร ? ประโยชน์ของน้ําผึ้ง มีอะไรบ้าง วันนี้เราจะพามาไขข้อสงสัยกัน บอกเลยว่ามีคำตอบแน่นอน ใครที่ชอบความหอมหวาน เข้มข้น ของน้ำผึ้ง รู้หรือไม่ว่าภายใต้ความหวานอร่อยนี้ น้ำผึ้งมีสรรพคุณที่ดีต่อร่างกายซ่อนอยู่หลากหลายเลยทีเดียว แถมยังเป็นสารให้ความหวานชนิดแรกของมนุษย์ ก่อนจะมีน้ำตาล หรือสารรสหวานอื่นๆ อีกด้วย

 

ทำไมต้องน้ำผึ้งเดือน 5 ?

 น้ำผึ้งเดือน 5 คือ น้ำผึ้งที่ไม่มีน้ำมาเจือปน น้ำผึ้งจะหอม หวาน มีความเข้มข้นกว่าน้ำผึ้งเดือนอื่น ๆ และยังสามารถเก็บไว้ได้นาน เพราะเดือน 5 คือ ช่วงปลายเดือนมีนาคม - เมษายน (การนับเดือนของไทยตามปฏิทินจันทรคติ) ซึ่งเป็นช่วงฤดูร้อน อากาศแห้งแล้งที่สุด ทำให้มีความชื้นในชั้นบรรยากาศน้อยมาก น้ำผึ้งที่ได้ในเดือนนี้จึงมีความเข้มข้นสูงนั่นเอง

 

เดือน 5 ในที่นี้หมายถึงเดือนห้าตามปฏิทินจันทรคติไทย ซึ่งอยู่ในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน เป็นช่วงที่ถือว่าน้ำผึ้งป่าจะมีคุณภาพสูงสุด เพราะเป็นช่วงที่อากาศแห้ง น้ำผึ้งจึงมีความชื้นต่ำ มีความเข้มข้นสูง (มีน้ำผสมอยู่น้อยกว่า 18%) จึงเก็บได้นานกว่าน้ำผึ้งทั่วไป เหมาะแก่การเข้ายาตามตำรับยาแผนโบราณ เพราะมีความชื้นน้อยจึงทำให้เกิดเชื้อราได้น้อยกว่านั่นเอง
นอกจากนี้แล้ว ในช่วงเดือน 5 ยังเป็นช่วงดอกไม้ผลิ ตามธรรมชาติจะมีดอกไม้ป่าบานอย่างหลากหลาย น้ำผึ้งเดือนห้าจึงมีกลิ่นหอมพิเศษจากบรรดาดอกไม้ป่า และยังมีรสหวานกลมกล่อม มีแร่ธาตุหลากหลาย ต่างจากน้ำผึ้งเลี้ยงหรือน้ำผึ้งฟาร์มที่แม้จะมีความเข้มข้นสูงขึ้นในช่วงฤดูร้อน แต่ก็ยังมีกลิ่นดอกไม้จำเพาะเจาะจงเหมือนเดิม เช่นน้ำผึ้งดอกลำไยหรือน้ำผึ้งดอกลิ้นจี่

** น้ำผึ้งเดือน 5 จึงเป็นน้ำผึ้งป่าเท่านั้น มีสี กลิ่น รส ที่แตกต่างกันออกไปตามความหลากหลายของดอกไม้ป่าในแต่ละพื้นที่แต่ละปี เมื่อตั้งทิ้งไว้นาน ๆ อาจมี ‘ง้วน’ หรือตะกอนและความขุ่นจากเกสรดอกไม้ลอยขึ้นมาด้านบนเล็กน้อย เป็นความไม่สมบูรณ์แบบจากการเก็บเกี่ยวแบบโฮมเมดและจากการผลิตโดยธรรมชาตินั่นเอง

ความ ‘หวานปานน้ำผึ้งเดือนห้า’ จึงมีที่มาเช่นนี้.


 

คุณค่าทางโภชนาการของน้ำผึ้ง
* น้ำผึ้ง 100 กรัม ให้พลังงาน 304 กิโลแคลอรี

คาร์โบไฮเดรต 82.4 กรัม
น้ำตาล 82.12 กรัม
เส้นใย 0.2 กรัม
ไขมัน 0 กรัม
โปรตีน 0.3 กรัม น้ำ 17.10 กรัม
วิตามินบี 1 0.038 มิลลิกรัม 3%
วิตามินบี 3 0.121 มิลลิกรัม 1%
วิตามินบี 5 0.068 มิลลิกรัม 1%
วิตามินบี 6 0.024 มิลลิกรัม 2%
วิตามินบี 9 2 ไมโครกรัม 1%
วิตามินซี 0.5 มิลลิกรัม 1%
ธาตุแคลเซียม 6 มิลลิกรัม 1%
ธาตุเหล็ก 0.42 มิลลิกรัม 3%
ธาตุแมกนีเซียม 2 มิลลิกรัม 1%
ธาตุฟอสฟอรัส 4 มิลลิกรัม 1%
โพแทสเซียม 52 มิลลิกรัม 1%
ธาตุโซเดียม 4 มิลลิกรัม 0%
ธาตุสังกะสี 0.22 มิลลิกรัม 2%

 

ประโยชน์ สรรพคุณของน้ำผึ้ง

บรรเทาอาการไอ และหวัด
ช่วยลดความดันโลหิตสูง
บำรุงประสาทและสมองให้สดชื่น แจ่มใส
แก้โรคโลหิตจาง เนื่องจากน้ำผึ้งมีธาตุเหล็กซึ่งเป็นองค์ประกอบของฮีโมโกลบิน ช่วยเพิ่มเม็ดเลือดแดง
ช่วยคลายความเหน็ดเหนื่อย อ่อนเพลียจากการทำงาน เล่นกีฬา หรือการพักผ่อนน้อย
ช่วยเสริมสร้างสุขภาพให้แก่ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยระยะพักฟื้น
ช่วยระงับประสาท อาการหงุดหงิด นอนไม่หลับ แก้ตะคริว
ช่วยลดการอักเสบที่เกิดขึ้นในร่างกาย
ช่วยลดความเครียด
ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิว และเพิ่มความกระจ่างใสบริเวณใบหน้า
ลดกรดในกระเพาะ ช่วยให้อาหารย่อยดีขึ้น แก้ท้องผูก เนื่องจากน้ำผึ้งถูกดูดซึมได้ทันที เมื่อสัมผัสลำไส้ ต่างจากน้ำตาลชนิดอื่นที่คงค้างอยู่ และถูกเปลี่ยนเป็นแอลกอฮอล์หรือกรด
แก้เด็กปัสสาวะรดที่นอน เนื่องจากน้ำผึ้งมีน้ำตาลฟรุกโตส ซึ่งมีคุณสมบัติดูดความชื้นได้ดีกว่าน้ำตาลชนิดอื่น จึงสามารถดูดน้ำกลับและอุ้มน้ำไว้ ทำให้เด็กไม่ปัสสาวะรดที่นอน

วิธีเช็ค น้ำผึ้งแท้ น้ำผึ้งปลอม

  1. หยดน้ำผึ้งลงบนกระดาษทิชชู่ ถ้าน้ำผึ้งปลอมจะมีน้ำซึมออกมา ทำให้กระดาษทิชชู่ทะลุได้
  2. ตักขึ้นมาดู ถ้าตอนเทลงไปเป็นสายแสดงว่าเป็นน้ำผึ้งแท้
  3. นำน้ำผึ้งไปละลายน้ำ ถ้าหากละลายยาก จะเป็นน้ำผึ้งแท้
  4. เทน้ำผึ้งลงบนฝ่ามือ หากล้างออกง่ายไม่เหนียวเหนอะหนะ แสดงว่าเป็นน้ำผึ้งแท้
  5. จุ่มไม้ขีดไฟลงในน้ำผึ้ง ถ้าจุดไฟติดจะเป็นน้ำผึ้งแท้แน่นอน
  6. น้ำผึ้งแท้ มดจะไม่ขึ้น
  7. ตรวจดูฉลากต้องมีสัญลักษณ์ อย.
  • ควรกินโดยเฉลี่ย วันละ 1-2 ช้อน หรือประมาณ 20 กรัม แต่ไม่ควรเกิน 50 กรัม/วัน
  • ผู้ป่วยเบาหวาน และผู้ป่วยที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง เพราะน้ำตาลฟรุกโตส ส่งผลต่อระดับไขมันและไตรกลีเซอไรด์ในกระแสเลือดได้ ขัดขวางการทำงานของฮอร์โมนอินซูลิน ที่ทำหน้าที่จัดการน้ำตาล ซึ่งปกติแล้วผู้ป่วยเบาหวานเองก็มีความผิดปกติของการหลั่งฮอร์โมนอินซูลินอยู่แล้ว ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานจึงควรปรึกษาโภชนากรหรือแพทย์ หากต้องการบริโภคน้ำผึ้ง
  • สำหรับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 1 ขวบ สตรีที่กำลังตั้งครรภ์ สตรีที่ให้นมบุตร คนที่แพ้เกสรน้ำผึ้ง ผู้ป่วยโรคเบาหวาน คนที่มีอาการท้องเสียหรือถ่ายเหลว และผู้ป่วยที่มีอาการอาเจียน หรือมีผิวหนังอักเสบเรื้อรังไม่ควรกิน ไม่ควรกินน้ำผึ้งร่วมกับเต้าหู้ ผักกุยช่าย หัวหอม และกระเทียม
  • ไม่ควรใช้น้ำที่ร้อนจัดผสมน้ำผึ้ง ควรผสมน้ำอุ่นประมาณ 40 องศา เพื่อไม่ให้ทำลายคุณค่าของเอนไซม์ กรดอะมิโน และวิตามินในน้ำผึ้ง

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก :

https://krua.co

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้